วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สรุป

1. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sidmund Freud’s Psychoanalytic Theory) ทฤษฎีของฟรอยด์ จะเน้นเรื่องจิตไร้สำนึกว่าเป็นแรงขับที่สำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในลำดับต่อไป
ประวัติของซิกมันด์ ฟรอยด์ (ค.ศ. 1856 – 1939) ฟรอยด์ เป็นชนชาติยิว ในช่วงวัยเยาว์นั้น เขาอาศัยอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในปี ค.ศ. 1881 ได้เรียนสำเร็จแพทย์จากมหาวิทยาลัยของเวียนนา ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยและเขียนผลงานเกี่ยวกับประสาทวิทยา ในที่สุดเขาก็ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางการรักษาเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาท เขาได้ศึกษาและฝึกงานกับจิตแพทย์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ เจ. เอ็ม. ชาร์คอต (J.M. Charcot) ในการรักษาคนไข้ฮิสทีเรีย (Hysteria) ในปี ค.ศ. 1894 ฟรอยด์ ได้ประกาศแนวคิดของเขาว่า การรักษาคนไข้โรคประสาทไม่ควรใช้วิธีการสะกดจิตวิธีเดียว น่าจะใช้วิธีเชื่อมโยงอย่างอิสระ (Free Association) โดยให้คนไข้พูดทุกสิ่งทุกอย่างที่คนไข้คิดออกในขณะนั้นให้มากที่สุด แล้วนำเอามาวิจัยหาสาเหตุที่คนไข้เก็บกด เขาได้ศึกษาเรื่องของจิตวิเคราะห์อยู่นานถึง 10 ปี และในปี ค.ศ. 1908 มีการประชุมจิตแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรก เรียกว่า International Congress of Psychoanalysis
ในปี ค.ศ. 1918 ฟรอยด์ ได้ย้ายไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ และได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1939 รวมอายุได้ 83 ปีเศษ สำหรับหนังสือของฟรอยด์ที่เขียนไว้มีหลายเล่ม เช่น
  1. My Interpretation of Dream
  2. On The Psychical Mechanism of Historical Phenomena
  3. Three Essays on Sexuality
  4. Beyond the Pleasure Principle
ฟรอยด์มีความเชื่อว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณ (Instinct) 2 อย่างติดตัวมาแต่กำหนด ซึ่งได้แก่
1. สัญชาตญาณในการดำรงชีวิต (Life Instinct) คือ สัญชาตญาณในการตอบสนองความต้องการของร่างกาย เช่น ความต้องการอาหารเพื่อบำบัดความหิว ความต้องการทางเพศเพื่อดำรงชาติพันธุ์
2. สัญชาตญาณแห่งความตาย (Death Instinct) คือ สัญชาตญาณในการดับสังขารและถึงความตายในที่สุด เช่น กลวิธานการป้องกันตนเอง ได้แก่ การถอยกลับสู่ความเป็นเด็ก (Regression) การกระทำซ้ำซาก (Repetition) นั่นคือ สัญชาตญาณแห่งความตายสัญชาตญาณทั้ง 2 อย่าง ฟรอยด์ ได้กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับหลักแห่งความพอใจ (Principle of Pleasure) เพราะมนุษย์ทุกคนต้องการความสุขกายสบายใจ โดยคำนึงถึงสภาวะความเป็นจริง ซึ่งบางอย่างบุคคลไม่สามารถแสดงออกต้องสะกดกลั้นไว้ จึงทำให้เกิดความขัดแย้งในใจ และก่อให้มีพฤติกรรมในลักษณะดังกล่าว
3.กระบวนการทำงานตามธรรมชาติของจิตมนุษย์ ฟรอยด์ แบ่งกระบวนการทำงานตามธรรมชาติของจิตมนุษย์ไว้ 3 ระดับ โดยการเปรียบจิตเสมือนภูเขาน้ำแข็งลอนน้ำ ซึ่งจะปรากฏลักษณะภูเขาน้ำแข็ง 3 ส่วน ดังนี้
1. จิตสำนึก (The Conscious Mind) เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งส่วนที่อยู่เหนือน้ำเป็นที่รวมแห่งความรู้สึก สติสัมปชัญญะ ซึ่งบุคคลสามารถรู้ตังโดยตระหนักในการกระทำต่างๆของตน หรือกรทำโดยรู้สึกตัวและมีสติ
2. จิตใต้สำนึก (The Unconscious Mind) เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งส่วนที่อยู่ใต้ผิวน้ำอันเป็นที่รวมของกระบวนการความคิด ความรู้สึก ความจำ ความต้องการ เรื่องราวต่างๆ ที่สะสมไว้ในจิตไร้สำนึก พฤติกรรมหรือการแสดงออกมาจะเป็นการกระทำโดยไม่รู้สึกตัว
3. จิตใต้สำนึก (The Subconscious Mind) เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งส่วนที่อยู่ระดับผิวน้ำระหว่างปลายเขตของจิตสำนึกต่อกับจิตไร้สำนึก ประสบการณ์ต่างๆ ที่สะสมไว้ในจิตใต้สำนึกนั้น ถ้าอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมก็จะปรากฏในจิตสำนึก
4. โครงสร้างของบุคลิกภาพ ฟรอยด์ กล่าวว่า พฤติกรรมของบุคคลจะแสดงออกมาเช่นใด ลักษณะใดนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้าง 3 ส่วนของจิต คือ 
1.อิด (Id) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ติดตัวมากำเนิด อิดเป็นระยะแรกเริ่มของบุคลิกภาพที่ประกอบด้วยความต้องการพื้นฐานของชีววิทยา 2 ประการ คือ ความต้องการทางเพศหรือความต้องการดำรงพันธุ์ และความต้องการก้าวร้าว ซึ่งความต้องการนี้เป็นพลังที่ไม่ได้ขัดเกลา ไม่รับรู้กฎระเบียบของสังคม แต่จะสนองความต้องการของตนตามหลักการที่แสดงถึงความพึงพอใจ (The Pleasure Principle) โดยไม่คำนึงเหตุผล ขาดการควบคุมหรือยั้งคิด การแสดงออกของความต้องการที่ไม่ได้ขัดเกลานี้ทำให้มนุษย์ มีพฤติกรรมหรือการะกระทำที่ขาดความยั้งคิด ขาดสติ
2.อีโก้ (Ego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่พัฒนาเพิ่มเติมต่อจากอิด หน้าที่ของอีโก้ คือ ทำหน้าที่เรียนรู้ รับรู้ด้วยเหตุและผล เป็นกลไกลสำคัญในการควบคุมแรงขับจากสัญชาตญาณทำหน้าที่ยับยั้งอิด นอกจากนี้ยังเปลี่ยนรูปแบบการแสดงออกของพฤติกรรมให้เหมาะสม ที่เรียกว่ากลวิธานป้องกันตน (Defense Mechanism) หรืออาจกล่าวได้ว่า อีโก้คอยควบคุมการแสดงออกของอิดให้เหมาะสม สอดคล้องกับความเป็นจริงที่สังคมยอมรับ
3.ซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่พัฒนาขึ้นจากการที่อีโก้ได้มีประสบการณ์กับสภาพความเป็นจริงในชีวิต และอยู่ในส่วนของจิตสำนึก เป็นพลังจิตฝ่ายสูงทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรม การกระทำของบุคคล เปรียบเสมือนคุณธรรม จรรยาบรรณ มโนธรรม ที่คอยดูแลพฤติกรรม หรือการกระทำว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก ควบคุมการแสดงพฤติกรรมของบุคคลโดยยึดหลักค่านิยมของสังคม (Value Principle) เพื่อตัดสินว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีในสังคม ซึ่งซูเปอร์อีโก้ของแต่ลุบุคคลจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการได้รับการอบรมเลี้ยงดู
โครงสร้างของจิตทั้ง 3 ส่วนนี้จะทำงานประสานกัน บุคคลที่มีสุขภาพจิตดี คือ บุคคลที่อิด อีโก้ และซูเปอร์อีโก้ ทำงานประสานกันได้ดี หากทั้ง 3 ส่วนดังกล่าวขาดความสมดุลกันหรือเกิดความขัดแย้งกันย่อมเป็นสาเหตุให้บุคคลนั้นมีความบกพร่องทางอารมณ์ เกิดความไม่สบายใจ อันจะนำไปสู่ความเครียด ความวิตกกังวล ทำให้มีพัฒนาการทางอารมณ์ไม่เหมาะ ถ้าอิดมีอำนาจหรือพลังมากเกินไปจะก่อให้เกิดพฤติกรรม หรือการกระทำที่ขาดความยั้งคิดหรือขาดสติ ถ้าอีโก้ครอบคลุมพลังของอิดบุคคลก็ขาดชีวิตชีวา และซูเปอร์อีโก้มีอำนาจมากเกินไปบุคคลนั้นจะกลายเป็นบุคคลที่สมบูรณ์แบบตามที่สังคมยอมรับ แต่จะขาดความสุข เพราะมีแต่ความเคร่งครัดและเคร่งเครียด
5. การพัฒนาบุคลิกภาพฟรอยด์ เน้นพัฒนาการของบุคลิกภาพในระยะต้นของชีวิตว่า บุคลิกภาพจะเริ่มก่อตัวในระยะปลายปีที่ 5 เขาสรุปว่า การพัฒนาบุคลิกภาพมี 5 ขั้น แต่ละขั้นก็จะทำให้อินทรีย์เกิดความพอใจตามอวัยวะส่วนต่างๆดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นปาก (Oral Stage) นับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงขวบแรกของชีวิต ความสุขของทารกจะอยู่ที่การได้ดูดนมมารดา หากได้รับการตอบสนองมากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะทำให้เกิดการตรึงแน่นของพฤติกรรม (Fixation) เช่น ชอบดูดนิ้ว ดูดปากกา ดินสอ กัดเล็บ มาก ปากจัด เป็นต้น บุคลิกภาพยอมตาม คอยพึ่งพาอาศัยบุคคลอื่น ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง มักจะมองโลกในแง่ดีหรือร้ายเกินไป
ขั้นที่ 2 ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) อยู่ในระยะ 2-3 ขวบ ความสุขที่ได้รับจากทางปากจะเปลี่ยนมาเป็นบริเวณขับถ่าย เด็กเริ่มพัฒนาความพร้อมทางกล้ามเนื้อขับถ่ายให้แข็งแรงขึ้น ควรมีการผ่อนปรนบ้าง ถ้ามีการเข้มงวดกวดขันมากหรอน้อยเกินไปอาจก่อให้เกิดความวิตกกังวล จะมีปฏิกิริยาที่ต่อต้าน หรือขัดขืน ดื้อดึง ตระหนี่ถี่เหนียว หรือมีบุคลิกภาพแบบเผด็จการต้องการมีอำนาจมาก ใจแคบ มีอคติ
ขั้นที่ 3 ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) อยู่ในระยะ 3-6 ขวบ ความสุขจะเลื่อนจากอวัยวะขับถ่ายมาเป็นอวัยวะเพศ เด็กต้องการความใกล้ชิดจากพ่อและแม่ เพื่อเป็นแบบในการปรับตัวในช่วงนี้เด็กจะเกิดความสับสน เพราะทั้งเด็กหญิงและเด็กชายจะเริ่มสนใจอวัยวะเพศของตัวเอง มีความอยากรู้อยากเห็นเรื่องความแตกต่างทางเพศด้านกายวิภาค
6.ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ล กุสตาฟ จุง (Carl Gustav Jung’s PersonalityTheor)
ประวัติของคาร์ล กุสตาฟ จุง (Carl Gustav Jung. 1875-1961) จุง กิดเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม ค.ศ. 1875 ที่เมือง Kesswyl ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 มิถุนายา 1961 เขาสำเร็จพทย์จากมหาวิทยาลัยบา
เซิล (University of Basel) จุงมีความเชื่อในเรื่องของจิตไร้สำนึกซึ่งสะสมมาแต่อดีต (Collective Unconscious) หรือประสบการณ์ในจิตไร้สำนึก (Personal Unconscious และจุงยังเสนอบุคลิกภาพ 2 แบบ คือ แบบเปิดตัว (Extraversion) และแบบเก็บตัว (Introversion) พร้อมกับแง่คิดในเรื่องรูปลักษณ์ (Archetype) ปม (Complex) และสัญลักษณ์ (Symbol) ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 จุงรับราชการเป็นแพทย์ของกองทัพบก ต่อมาใน
ปี ค.ศ. 1933,1936 – 1940 ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยที่ซูริกและบาเซิล เขาได้รับเชิญเป็นองค์ปาฐกตามมหาวิทยาลัยต่างๆ นอกจากเป็นนักจิตวิทยาแล้วจุงยังได้รับการยกย่องว่าเป็นนักการศึกษาด้วย เขาได้เขียนหนังสือและบทความหลายเรื่อง เช่น 
1.The Psychology of Dementia Praecon
2.Psychology of The Unconscious
3.Psychological Types

ลักษณะของบุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์

1. ประเภทหมกมุ่นอยู่กับตนเอง มักจะท้อแท้ เบื่อหน่าย ผิดหวัง มีความเคียดแค้น พวกนี้เป็นพวกที่ได้รับความผิดหวังในสัมพันธภาพระหว่างตนเองและผู้อื่น
2. ประเภทไม่สุงสิงกับใคร บุคคลประเภทนี้มักรู้สึกว่าทำดีกับใครไม่ขึ้น มักจะมีความน้อยใจ สาเหตุอาจจะเนื่องจากไม่ได้รับความรักในวัยเด็ก จึงพัฒนาความรู้สึกไม่ไว้วางใจผู้อื่นไม่ยึดตอดกับใคร

3. ประเภทต้องพึ่งพาผู้อื่น พวกประเภทนี้มักไม่มีความคิดเป็นของตนเอง คอยแต่ฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของบุคคลอื่น ยึดคนอื่นเป็นที่พึ่ง สาเหตุที่มีบุคลิกภาพแบบนี้อาจจะเป็นเพราะการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวที่พ่อแม่วางอำนาจหรือเผด็จการ

4. ประเภทไม่เป็นมิตนกับใคร คนประเภทนี้มักมีอารมณ์ขุ่นมัว หงุดหงิด อาจมีสาเหตุมาจากบิดามารดาที่เคี่ยวเข็ญมากเกินไป และมักจะไม่พอใจกับผลกระทำของบุตร บุคคลประเภทนี้จะไม่ประสงค์คบหาใคร

5. ประเภทชอบคัดค้าน บุคคลประเภทนี้มักจะชอบค้าน ชอบเรียกร้องความสนใจ สาเหตุอาจเป็นเพราะขณะอยู่ในวัยเด็ก ชอบเรียกร้องความสนใจ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นก็ยังคงใช้วิธีค้านถ้ารู้สึกว่าตนเองถูกคุกคาม

6. ประเภทรักร่วมเพศ คนประเภทนี้มักมีการปรับตัวในเรื่องเพศอย่างผิดๆ อาจเป็นเพราะเกิดการได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่พ่อแม่ขาดสัมพันธภาพที่ดีกับบุตรธิดา รวมทั้งสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนกับเพศนั้นๆ ไม่เหมาะสมทฤษฎีบุคลิกภาพ แบบมนุษยนิยม (Humanist Personality Theory)
ทฤษฎีบุคลิกภาพแบบมนุษยนิยม แนะนำเรื่องคุณค่าของการให้ความเคารพโดยปราศจากเงื่อนไขต่อคนอื่น ซึ่งในความเป็นจริงนำไปสู่การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพที่ดีกว่า ยึดถือแนวทางอิสระของ 2 นักทฤษฎีจิตวิทยาประกอบด้วย
อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) มาสโลว์มีทรรศนะเหมือนกับฟรอยด์ มีความเชื่อ เกี่ยวกับการจูงใจมนุษย์ แต่ทรรศนะของมาสโลว์มีเหตุผลที่มีความแตกต่างจากทรรศนะของฟรอยด์ที่มีความเชื่อในพลังอำนาจ สิ่งที่บุคคลมีมาตั้งแต่แรกเกิด ล้วนแต่เป็นการจูงใจในทางลบ แต่มาสโลว์มีความเห็นว่า จุดอ่อนในสิ่งที่บุคคลมีมาตั้งแต่แรกเกิด ควรจะจัดให้เป็นแนวทางบวก ควรจะได้รับการสนับสนุนให้เกิดการจูงใจ เพื่อให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ จัดเป็นพลังอำนาจที่ดีที่สุด และเป็นการจูงใจที่จะต้องกระทำในทันที มาสโลว์มีความเห็นว่า ถ้าตราบใดที่มนุษย์ยังมีความอดอยากหิวโหยอยู่ สิ่งที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับเขาก็คืออาหารนั่นเอง ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้มีการเสนอแนะว่า เมื่อมนุษย์ได้รับความต้องการขั้นพื้นฐานจนเป็นที่พึงพอใจแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการในลำดับขั้นที่สูงต่อไปให้ปรากฏเห็นอยู่เสมอ
ตามทรรศนะของมาสโลว์มีความเชื่อว่า ความต้องการตามลำดับขั้นทั้งหมดเป็นความต้องการของมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด แต่มนุษย์ที่มีความต้องการตามลำดับขั้นในขั้นที่สูงขึ้น มนุษย์จึงต้องการ การชี้นำในการกระทำ เมื่อมนุษย์ได้รับความพึงพอใจในลับดับขั้นความต้องการขั้นพื้นฐานคือ ได้รับอาหารเพียงพอแล้ว และมีความปลอดภัยในชีวิตแล้ว ก็เป็นสิ่งที่เชื่อแน่ได้ว่า มนุษย์ก็จะถูกจูงใจให้มีความต้องการทางสังคม หรือมีความต้องการการยอมรับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและจะได้รับการยอมรับนับถือเป็นอย่างสูง เขาก็จะเป็นผู้ที่รู้จักและมีความเข้าใจโลกของเขา หรือจัดเป็นการสร้างสุนทรียภาพแห่งความพอใจที่บริสุทธิ์ มนุษย์สามารถจะประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมาย เขาจะกลายเป็นบุคคลที่มีความสามารถมากที่สุดตลอดไปและมีความสามารถหลายอย่าง หรือเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จชีวิต ดังนั้นแต่ละบุคคลจะมีความสามารถในการพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดีที่สุด

ทฤษฏีพัฒนาการบุคลิกภาพของอีริคสัน (Erikson’s Theory of development)
อีริคสัน เอช อีริคสัน(Erikson H. Erikson) มีความคิดเป็นว่าพัฒนาการทางบุคลิกภาพเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของชีวิต มิใช่สำคัญเฉพาะพฤติกรรมในช่วงแรกของชีวิตที่อยู่ใน Critical Period เท่านั้น ซึ่งพัฒนาการของมนุษย์มิได้เป็นไปเพื่อสนองความสุขความพึงพอใจทางด้านสรีระเท่านั้น แต่ยังจะต้องขึ้นอยู่กับสภาพทางจิต – สังคม ซึ่งหมายถึงลักษณะการอบรม เลี้ยงดู สัมพันธภาพระหว่าง พ่อ – แม่ ตลอดจนอิทธิพลของวัฒนธรรมในสังคมนั้นๆ ซึ่งเด็กจะแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม (Self – Concept) และความรู้สึกนี้เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาทางบุคลิกภาพ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ติดต่อสืบเนื่องกันไปตลอดชีวิต
ในแต่ละขั้นตอนของพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่อีริคสันเสนอไว้มีโอกาสที่จะพัฒนาไปได้ไม่ทางบวก ก็ทางลบ ซึ่งมี 8 ขั้นตอนด้วยกัน อีริคสันมีความเห็นว่าพัฒนาการทางบุคลิกภาพเกิดขึ้นได้เนื่องจากคนมีการติดต่อสัมพันธ์กับสังคม ดังนั้นจึงเน้นที่สัมพันธ์ภาพระหว่างบุคคลและสังคมในแต่ละขั้นของการพัฒนาจะมี “ช่วงวิกฤต” (Critical Period) สำหรับที่จะพัฒนาเรื่องนั้น ๆ ซึ่ง อีริคสันหมายถึงผู้ที่มีบุคลิกภาพจิตดี ซึ่งจะเป็นลักษณะของคนที่สามารถเผชิญปัญหาหรือแก้ปัญหาทั้งปัญหาที่เกิดจากภายในตนเองและปัญหาจากภายนอก ด้วยการที่สามารถจัดระบบระเบียบความคิดและสามารถตัดสินใจได้
ในทางตรงกันข้ามถ้าในช่วงชีวิตใด พัฒนาการเป็นไปในทางลบมากกว่า เด็กผู้นั้นจะมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นผู้ที่มีปัญหาในการปรับตัว นอกจากนั้นยังอธิบายว่า ถ้าพัฒนาการของ ego ในตอนแรกเป็นไปด้วยดีก็จะไปช่วยพัฒนา ego ในขั้นที่ 2 ต่อไป แต่ถ้าพัฒนาการในขั้นแรกไม่ดี ขั้นที่ 2 อาจจะพัฒนาไปในทางดีได้ ถ้าได้รับประสบการณ์ที่เหมาะสมในช่วงนั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามอีริคสันชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลที่แต่ละขั้นมีต่อกันโดยที่พัฒนาการในขั้นหลังจะได้รับอิทธิพลจากขั้นก่อนนั้น